นักเลงทุเรียนไทยต้องรู้!!!

Odoo • Image and Text

ก ระดับความแก่ของทุเรียน

    - ปริมาณแป้งที่อยู่ในเนื้อของทุเรียน (แต่ละสายพันธุ์) บ่งบอกถึงระดับความแก่

    - ปริมาณแป้งที่เป็นค่ามาตรฐานทุเรียนคุณภาพ   ณ เวลาตัดลูกทุเรียนลงมาจากต้น ต้องถูกกำหนดเป็นค่ามาตรฐาน  การกำกับมาตรฐานระดับความแก่อาจกำหนดเป็นร้อยละ% ของตัววัดความแก่อื่นที่ไม่ใช่ร้อยละ% ของปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนก็ได้ 

ทุเรียนหมอนทอง

          -ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนหมอนทอง32%  อาจเรียกว่าทุเรียนแก่เป็น75%

          ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนหมอนทอง  37% อาจเรียกว่าทุเรียนแก่เป็น 86.7%

       € หมอนทอง สำหรับคนไทยกินในประเทศไทยสมควรต้องมีแป้งในเนื้อทุเรียน( ณ วันเวลาตัดลูกทุเรียนลงมาจากต้น) ปริมาณไม่น้อยกว่า 37%  (ชาวไทยจึงจะได้กินกินทุเรียนคุณภาพ หาก%ต่ำกว่านี้ ถือว่าทุเรียนคุณภาพต่ำ)

       € หมอนทอง สำหรับส่งออกไปต่างประเทศสมควรต้องมีแป้งในเนื้อทุเรียน( ณ วันเวลาตัดผลทุเรียนลงมาจากต้น) ปริมาณไม่น้อยกว่า 32%  (ชาวต่างชาติจึงเกือบไม่มีโอกาสกินทุเรียนคุณภาพ)

 

        การวัดปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนในวิธีการเดียวที่ชนชาติไทยจนถึงปัจจุบันสามารถกระทำได้อย่างแม่นยำ(นับตั้งแต่คนไทยเริ่มรู้จักทุเรียนมานานกว่า 200ปี ก็คือ นำเนื้อทุเรียนที่ตัดลงมาจากต้นแล้วรีบนำเอาเนื้อทุเรียนมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ จากนั้นนำมาชั่งน้ำหนักให้ได้100กรัมแล้วรีบนำเข้าเตาอบโดยเร็วโดยอบให้แห้งภายในเวลา30นาทีจนกว่าเนื้อทุเรียนจะแห้งและจะไม่แห้งไปกว่านี้อีกแล้ว จากนั้นก็รีบทำการวัดน้ำหนักเนื้อทุเรียนแห้งที่ได้ 

       น้ำหนักเนื้อทุเรียนแห้ง( xกรัม)ที่อบแห้งจากการอบ100กรัม  คือ น้ำหนักแป้งสุทธิ % ที่มีในเนื้อทุเรียน ณ วันเวลาที่ทุเรียนถูกตัดลงมาจากต้น ซึ่งสื่อนัยสำคัญถึงรสชาติกับคุณค่าอาหารที่ได้เป็นอย่างยิ่ง  ประการสำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจการค้าขายทุเรียน 

             มันถูกใช้เป็นมาตรฐานกำกับการตัดทุเรียนคุณภาพลงจากต้น

             มันมีความสำคัญยิ่งสำหรับการเป็นชาวสวนคุณภาพ

             มันสำคัญยิ่งสำหรับความเป็นมือตัดทุเรียนมืออาชีพ

         ปริมาณแป้ง%ในเนื้อของทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ล้วนมีมาตรฐานกำกับตามคุณลักษณะเฉพาะของมันบนรสชาติที่เป็นเลิศกับคุณค่าอาหารที่วิเศษสุดยอดของมัน

 


ทุเรียนห่าม

ทุเรียนสุก

 

ก. ทุเรียนห่าม เป็นได้  2 กรณี คือ

    1 ห่ามคาต้น อาจมีแป้งในเนื้อได้ถึง 40%-45% ก็ได้ ก็คือใกล้เวลาสุกคาต้น

    2 ห่ามบนการบ่มทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นที่ระดับความแก่ต่างๆตามปริมาณแป้ง % ในเนื้อทุเรียน ซึ่งห่ามลักษณะนี้เรียกว่าห่ามจากการบ่ม เช่น

       2.1 หมอนทองห่ามที่ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนเพียง32%  การบ่มให้ห่ามจะใช้เวลานาน  เป็นทุเรียนหมอนทองห่ามที่มีรสชาติกับคุณอาหารเป็นอย่างหนึ่ง กินได้

       2.2 หมอนทองห่ามที่ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียน 37+%  การบ่มให้ห่ามจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เป็นทุเรียนหมอนทองห่ามที่มีรสชาติกับคุณอาหารเป็นอีกอย่างหนึ่ง

        หมอนทองห่ามที่ปริมาณแป้ง%สูงจะอร่อยกว่าที่มีปริมาณแป้ง%ต่ำเป็นที่แน่นอน!!!

 

ข  ทุเรียนสุก ก็เป็นได้  2 กรณีเช่นกัน คือ

    1 สุกคาต้น อาจมีแป้งในเนื้อได้ถึง 40%-43% ก็ได้ ก็คือ สุกคาต้นหลุดปลิงหล่นเองลงมา

    2 สุกบนการบ่มทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นที่ระดับความแก่ต่างๆตามปริมาณแป้ง%ในเนื้อทุเรียน ซึ่งสุกลักษณะนี้เรียกว่าสุกจากการบ่ม เช่น

       2.1 หมอนทองสุกที่ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียนเพียง 32% ก็จะใช้เวลาอาจจะนานมากกว่าจะสุก  รสชาติกับคุณอาหารจะเป็นอย่างหนึ่ง

       2.2 หมอนทองสุกที่ปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียน 37+%  บ่มใช้เวลาไม่นาน รสชาติกับคุณอาหารก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง  กินอร่อย

        หมอนทองสุกที่ปริมาณแป้ง%สูงจะอร่อยกว่าเป็นที่แน่นอน!!! คนไทยควรกินทุเรียนสุก


  การวัดค่าความห่าม

 การวัดค่าความสุก

        € ค่าความห่ามของทุเรียน คือ ผลการวัดอัตราการเปลี่ยนแป้ง(+แร่ธาตุนานาชนิด)ในเนื้อทุเรียนที่เป็นวีธีการทางธรรมชาติให้กลายไปเป็นน้ำตาลกับเป็นสารวิเศษ(ซึ่งยังไม่รู้ว่ามันทั้งหมดคืออะไร : อนุมูล)

            อะไร ??? สมควรจะถูกใช้เป็นเครื่องมือวัดค่าความห่ามของทุเรียน(วัดปริมาณน้ำตาล-วัดปริมาณสารวิเศษเกิดจากวิธีการทางธรรมชาติ)ซึ่งได้มาจากการเปลี่ยนแป้ง(+แร่ธาตุ)ให้มนุษย์เราสามารถพิสูจน์ทราบการเปลี่ยนของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด/แม่นยำสูงสุด  

            มนุษย์(คนไทยเจ้าของทุเรียนไทย)ต้องเป็นผู้คิดค้นวิจัยทดลองทดสอบผลิตสร้างรับรองการใช้งานมันขึ้นมา

        € วัดค่าความสุกของทุเรียนก็เช่นกัน วิธีการวัดความสุกคงไม่ต่างจากการวัดค่าความห่าม

 

 

ความยาก

_การวัดค่าต่างๆ ต้องพิจารณาดังนี้

            1 วัดค่าความห่ามหากทุเรียนที่ยังไม่ถึงสุกคาต้นหรือใกล้เวลาสุกคาต้น

            2 วัดค่าความห่ามของทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นขณะที่ทุเรียนมีปริมาณแป้งในเนื้อเพียง 32%

            3 วัดค่าความห่ามของทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นขณะที่ทุเรียนมีปริมาณแป้งในเนื้อ37+%

            4 วัดค่าความสุกของทุเรียนสุกคาต้น (ใช้อ้างอิงค่ามาตรฐานได้)

            5 วัดค่าความสุกของทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นขณะที่ทุเรียนมีปริมาณแป้งในเนื้อ 32%

            6 วัดค่าความสุกของทุเรียนที่ถูกตัดลงมาจากต้นขณะที่ทุเรียนมีปริมาณแป้งในเนื้อ37%

 

   

เครื่องวัดที่ดีที่สุด

_  ตา-จมูก-หู-มือ-ลิ้นของมนุษย์

    ตา    ดูลูกทุเรียน: งวง ปลิง ผิว พู  หนาม  + สีลูกทุเรียน

    จมูก  ดมกลิ่น

    หู      ฟังเสียงเคาะ

    มือ    ยกดูน้ำหนักเบา

    ลิ้น    ละเลียดรสชาติ

 

เครื่องวัดใดๆ ก็วัดค่าความห่ามกับวัดค่าความสุกของทุเรียนไม่ได้ดีเท่าประสสัมผัสของมนุษย์

 

 

 

คนไทยกับทุเรียน

คนไทยต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งให้มากที่สุดเกี่ยวกับธรรมชาติของทุเรียนที่มันเป็นผลผลิตชั้นเลิศทางธรรมชาติของประเทศไทย

    แม้ว่ามันจะยากยิ่งที่คนไทยจะมีความรู้ให้ฉลาดกว่าวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติของทุเรียนก็ตาม

คนไทยต้องเรียนรู้เรื่องราวของการกินทุเรียน

   รู้วิธีการวัดปริมาณแป้งในเนื้อทุเรียน

   รู้วิธีการพิสูจน์ทราบทุเรียนห่าม

   รู้วิธีการพิสูจน์ทราบทุเรียนสุก

 

   หากรู้แล้วเราคนไทยก็จะสามารถกินทุเรียนไทยที่เป็นผลผลิตชั้นเลิศทางธรรมชาติที่มันเกิดมีอยู่บนผืนแผ่นดินไทยตามความชอบ :  ดิบ ห่าม สุก ได้อย่างมีความสุข