เมืองเพนียต
เมืองเพนียตเป็นเมืองท่าในวัฒนธรรมขอมใกล้ชิดกับอินเดีย และเป็นชัยภูมิสำคัญที่เชื่อมอารยธรรมจากต่างถิ่นเข้าสู่พื้นที่ตอนในของแผ่นดินสุวรรณภูมิ
เจ้าบริพงษ์ราชบุตรบุญธรรมและเจ้าวงษ์สุริยามาศราชบุตรบุญธรรมของพระนางกาไวแห่งเมืองสามสิบเมื่อเตรียมทัพได้พร้อมแล้วก็ยกกองทัพเข้าโจมตีเมืองกาไวจนได้ชัยชนะ พระนางกาไวพระมารดาเลี้ยงพ่ายแพ้จนต้องขนพระราชทรัพย์ขึ้นหลังช้างที่เพนียตเปิดประตูเมืองหนีไป
เมืองเพนียตหรือเมืองกาไวปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองโบราณในจังหวัดจันทบุรี มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เชิงเขาสระบาปติดลำน้ำสาขาซึ่งไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย ลักษณะผังเมืองคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคันดินล้อมรอบ พื้นที่ราว 1,600 ไร่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 พบหลักฐานจารึก จำนวน 3 หลัก คือ 1. จารึกวัดทองทั่ว – ไชยชุมพล (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12)
เมืองเพนียตถูกสำรวจโดยสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เมื่อ พ.ศ. 2436 – 2446 ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 ในปี พ.ศ.2542 – 2545 สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 4 ปราจีนบุรี หรือสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรีในปัจจุบัน ได้ดำเนินงานโบราณคดีและบูรณะโบราณสถานด้านทิศเหนือ หรือคูเพนียต ลักษณะเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 สระ แต่ละสระมีขนาด กว้าง 60 เมตร ยาว 40 เมตร กรุด้วยศิลาแลง มีบันไดทางขึ้น น่าจะสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18